The Winner & Loser

ณ... มุมหนึ่งของ กทม.
ภายในห้องนอนติดแอร์โอ่อ่า ของคฤหาสน์พันล้าน ทายาทอภิมหาเศรษฐีหมื่นล้าน นอนป่วย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ มานานนับเดือน เพราะความฟุ้งซ่านจาก ภาพ+ความคิดที่หลอกหลอน จนใกล้เพ้อคลั่ง!!!

 "โลกนี้ ทำไมจึงเลวร้าย ไม่มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นเลย ... ทำไม จึงซวยซ้ำซ้อน ทุกข์ซ้ำซาก ทั้งที่พยายามทำความดี แต่ไม่มีใครเห็น นอนก็ไม่หลับ กินก็ไม่ได้ ภาพความทุกข์มันหลอน เช้ามาเจอแต่เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง ญาติ  ตัวเองมีธุรกิจรุ่งเรือง ก็โดนอิจฉาว่ารวยแต่ตัว เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่พี่น้อง ก็ยกธุรกิจเป็นร้อยล้านให้เขาไป คิดว่าเขาคงจะเห็นความดี

     เปล่าเลย !!! แทนที่ จะได้รับคำชม จากญาติพี่น้อง กลับกลายเป็นถูกด่า ว่าเอาภาระมาให้ ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ... อุแม่เจ้า !!! อะไรกันนักกันหนา ทำไม อุปสรรค ความทุกข์ จึงเยอะอย่างนี้ !!

สลัมคนยาก ที่ยังชีพอยู่ด้วยการเก็บเศษขยะที่ทิ้งแล้วจากคฤหาสน์พันล้าน ซึ่งอยู่อีกมุมหนึ่งไม่ห่างกันนัก...
แม่ลูกที่อาศัยอยู่ในกระต๊อบที่มุงด้วยกล่องกระดาษ และเศษพลาสติก พื้นปูโฟมผุ ๆ พอกันความชื้น
แม่กำลังยิ้มแย้มด้วยความสุข เพราะดีใจ ที่วันนี้มีขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วจากกองขยะ เยอะกว่าทุกวัน ลูกตัวน้อยกำลังสนุกคุ้ยเศษกระดาษเพื่อหาของเล่น

รถยนต์คันละเกือบร้อยล้าน จากคฤหาสน์ทายาทอภิมหาเศรษฐี แล่นผ่านแม่ลูกคู่นั้นไป  ผู้เป็นแม่มองตามรถยนต์คันนั้น แล้วพึมพัมว่า "..เจ้าประคูณ ..เกิดชาติหน้าขอให้เป็นลูกมหาเศรษฐี จะได้มีความสุขกับเขาบ้าง !!??

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า "ความสุข" ไม่ได้อยู่ที่ความแตกต่าง "ฐานะ" หรือ "สภาวะ" ของบุคคล แต่ความแตกต่าง ระหว่าง "สุข" กับ "ทุกข์" อยู่ที่ "อารมณ์" ของมนุษย์

เพราะผู้ที่เกิดความทุกข์นั้น เขาได้เก็บความรู้สึก "ทุกข์" นั้นไว้ ซึ่งจริงแล้ว คือ คลื่นสัญญานไฟฟ้าของภาพ(ภาพเกิดจากความถี่ของคลื่นไฟฟ้า) ที่เราคิดว่า "เป็นทุกข์ เป็นอุปสรรค" นั้นถูกส่งเข้าไปทำงาน และนำเอาทุกอย่างที่เราเก็บภาพ "ทุกข์และอุปสรรค" นั้น ไปค้นหาคลื่นความถี่เดียวกัน

 อธิบายง่าย ๆ สมองจะทำงานรับสัญญานที่เราส่งเข้าไป โดยไม่สนใจว่าสิ่งนั้นสุข หรือ ทุกข์ เพราะคำว่า "สุข หรือ ทุกข์" มันเป็น "อารมณ์" เพราะ อารมณ์นั้นเกิดจากสัญญานไฟฟ้า(ภาพ image) ที่เราป้อนเข้าไปในระดับของ RNA ส่งผ่าน ให้สมองค้นหาสิ่งนั้น




เปรียบเหมือนเราใส่คำเข้าไปค้นหาใน Google ไม่ว่าเป็นคำอะไร ถูกหรือผิด มันก็จะเอาสิ่งนั้นออกมาแสดง (Computer สร้างขึ้นโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง แต่ยังไม่เร็วและมีศักยภาพเทียบได้ในพันส่วน ที่สมองมนุษย์ทำงาน

    ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงให้เราปฏิบัติเพื่อ แก้ไขโดยให้ "ยกจิตขึ้นสู่วิถี" เรียกว่า "ยกให้พ้นจากสภาวะแห่งอารมณ์ ความรู้สึกนั้น ๆ" เปรียบเสมือนเราขึ้นเครื่องบินลอยอยู่บนฟ้า ข้างล่างจะเกิดสงคราม แผ่นดินไหว หรือ สึนามิ ก็ไม่ได้กระทบกับผู้ที่อยู่บนเครื่องบิน

  ฉันใดก็ฉันนั้น เช่นเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ขั้นต้น ๆ นั่นคือ ฝึกปาก+ใจ ให้ตรงกัน โดยการสวดมนต์ ถามว่า จะช่วยให้คลายทุกข์ คลายกังวลได้อย่างไร ?

   คำตอบ ง่ายมาก เพราะผู้ที่ฝึกตอนเริ่มเมื่อหายใจเข้าไป(อาปานสติ) ก็เอาความรู้สึกไปจับอยู่ที่ลมหาใจ ว่ามันสุดตรงไหน หากยังคิดเรื่องอื่นอยู่ก็จะหาใจไม่เจอ หรือเจอมั่งไม่เจอมั่ง

   เอาล่ะเมื่อเจอที่ตั้งของ "ใจ" แล้ว ก็จับเสียงของปากที่ส่งเสียงออกมา ไม่ว่าจะโดยสวด นะโม หรือ สวดบทอื่น ก็คอยจับว่า มันเป็นเสียงเดียวกับ "เสียงใจ=ที่สุดลมหาใจ" รึเปล่า ?

    ถ้ายังคิดเรื่องทุกข์ ฯลฯ เสียงปากใจ ก็จะไม่พร้อมกัน ลมหาใจก็จะไม่เท่ากันทั้งสามจังหวะ คือ ลมหาใจเข้า ตั้งลม ลมหาใจออก
   การฝีกเช่นนี้อย่างจริงจัง "ตั้งใจ" เพียงแค่ 10 นาที ความทุกข์ก็ละลายไปแล้ว หากว้าวุ่นอีก ก็ทำอีก


   เปรียบเทียบได้กับการ Defragment Harddisk ที่เต็มไปด้วยโปรแกรมขยะ และไวรัส ที่ต้องกำจัดเพราะทำลายการทำงานของเครื่อง เหมือนกัน
   ทั้งหมดทั้งสิ้น อยู่ที่ว่า "เราปฏิบัติหรือเปล่า ? จริงใจต่อการปฏิบัติหรือไม่ ? หรือ แค่คิดว่าสวดมนต์หน่อย พระคงช่วยเราได้ แล้วกลับมาจมอยู่ในห้วงความคิดที่เป็นทุกข์ต่อ อีก 1000 ปี ก็ไม่มีวันหายทุกข์ "
   เพราะเราคิดว่ามันคือ ทุกข์ คือ อุปสรรค แต่กลับไม่คิดว่า "นี่คือบททดสอบ ที่เราต้องสอบให้ผ่าน"
   ตอนเราเรียนชั้นประถม ปีนึงสอบหนเดียว พอเรียนมัธยม ปีนึงสอบสามหน พอเรียนมหา'ลัย เราต้องสอบตลอดแทบทุกอาทิตย์เพราะลงหน่วยกิต ยิ่งเรียนระดับ ปริญญาโท ปริญญาเอก มีการทำวิทยานิพนธ์ ค้นคว้า ยังไม่พอ แม้จะผ่านหมด แต่ยังมีการสอบสัมภาษณ์ ทดสอบอีก เป็นขั้นสุดท้าย

    อาจารย์ มีหน้าที่ออกข้อสอบให้ลูกศิษย์ผ่านยากที่สุด แต่ก็อยู่ในหลักสูตรที่เราเรียน ถามว่า เราโกรธอาจารย์ที่ออกข้อสอบยาก หรือ โกรธตัวเราที่ไม่สนใจท่องศึกษาตำราเรียน

  และเมื่อเราฟิตซ้อมฝีก-ศึกษาผ่านวิชชาที่ยากที่สุดได้ เราก็ภาคภูมิใจในตัวเราเองว่า "ข้าแน่.. อ๊ะ! ข้าก็ทำได้ !!" แต่อีกพวกโกรธอาจารย์ ว่าข้อสอบยาก คิดว่าเป็นอุปสรรค ไม่สอบไม่ดูหนังสือ ในที่สุดก็โดนรีไทม์ออกจากมหา'ลัยไป เพราะเรียนไม่จบ อับอายขายหน้า ไม่กล้าเจอเพื่อนฝูง

   การเปลี่ยนผัน จาก Loser กับ Winner มันแค่พลิกฝ่ามือ เพราะมันขึ้นอยู่แค่ชั้นระดับความคิด เป็นชั้นระดับของจิต(ธรรมชาติใด "คิด" ธรรมชาตินั้นเรียกว่า "จิต") ซึ่งเปรียบเสมือนพวงมาลัยรถ พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีควบคุมจิต คือควบคุมรถ ให้เรามีอำนาจเหนือรถ(จิต) ควบคุมมันได้

ผู้ปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จึงมีอำนาจเหนือจิต ควบคุมได้ไม่ให้จิตฟุ้งซ่านสร้างอารมณ์ในทางท้อถอย ยอมรับสภาพความพ่ายแพ้ คือไม่เป็นทาสความคิด เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ในชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นสมมุติ เป็นภาพ เป็นเสียง เป็นคลื่นความถี่ของสัญญานไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก สุข และ ทุกข์ ซึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติชอบตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ย่อมสามารถควบคุม บังคับ ให้คลื่นกุศลกรรม(ความสุข) ให้แสดงผล และสะกัดกั้นไม่ให้คลื่นอกุศลกรรม(ความทุกข์) แสดงผลได้


อยู่ที่เราจะตีค่าสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า "ทุกข์" นั้น เป็น "อุปสรรค" หรือ "บททดสอบ" ที่เราต้องแข่งขัน และต้องผ่านความท้าทายนั้นให้ได้ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับ "ใจ" ว่าเราพร้อมที่จะก้าวต่อไป หรือ จะทอดอาลัยกลายเป็น "ผู้แพ้" !!


    หากยังเข้าใจไม่กระจ่าง ให้ไปศึกษาในธรรมบรรยาย ซึ่งเคยเขียนไว้แล้ว ที่ http://seealots.blogspot.com/2015/05/22-2558.html

    ขอความผาสุขสวัสดี ก้าวหน้าในการปฏิบัติ จงบังเกิดมีแก่สาธุชนทุกท่าน ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ เทอญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS