" การตั้งลม" สำคัญอย่างไร ? (คำสอนพระอาจารย์ธรรมบาล 4 มกราคม 2559)

" การตั้งลม" สำคัญอย่างไร ?

ในการปฏิบัติสมาธิขั้นต้น คือ อาปานัสติ คือ ฝึกหายใจ จะมี 3 จังหวะ คือ

1.หายใจเข้า
2.ระงับลมหายใจ
3.หายใจออก

   จังหวะของการ "ระงับลมหายใจ" นี้ เรียกว่า "ระงับลมอัสาสะ-ปัสสาสะ" (ปรากฏเป็นข้อปฏิบัติใน สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค) หรือ ที่โบราณเรียกให้จำง่ายว่า "การตั้งกองลม, ตั้งลม,ทรงลม"

"การตั้งลม" เป็นหัวใจสำคัญในการทำสมาธิ ซึ่งแตกต่างไปจากการ "กลั้นลมหายใจ" ส่วนใหญ่ผู้ที่มาศึกษาปฏิบัติใหม่ ๆ มักเข้าใจสับสน คิดเอาเองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งที่จริงเป็นคนละเรื่อง เพราะการกลั้นลมหายใจ จะให้โทษแก่ร่างกายทำให้สมองขาดอ๊อกซิเจน ถึงกับ "เอ๋อ" ได้ ทางพุทธเรียกว่าเป็นการอัตตากิยานุโยค(ทรมาณตนเอง) ห้ามไม่ให้ปฏิบัติโดยเด็ดขาดเพราะเป็นโทษ

ส่วน "การตั้งลม" นอกจะต้องใช้ในการทำสมาธิในระดับสูงแล้ว (ผู้ที่ปฏิบัติ สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จะทราบดี)

การตั้งลม คือ การทรงสภาพของลมอัสสาสะ ไว้ยังจุดกำหนด(เช่น ปถวีธาตุ) เพื่อใช้ประกอบกับ "นิมิต(ภาพ)+ปิติ" สำหรับอธิษฐานสิ่งที่ปรารถนา ให้ปรากฏเป็นจริง ทั้งนี้ การตั้งลม หรือ ทรงลม จะใช้ไปจนตราบถึงบรรลุปัญญาวิมุติ หลุดพ้น คือพระนิพพาน นั่นแหละ

 ผู้ที่สามารถตั้งลม ได้ในระดับต้น ๆ ก็เกิดอานิสงค์ สามารถป้องกันตนเอง มิให้เป็นอันตรายจากอาวุธได้อีกด้วย

ในประเทศจีนเมื่อประมาณเกือบพันปีมาแล้ว พระโพธิธรรม "ตั๊กม้อ" ผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน ได้นำ "การตั้งลม" มาเผยแผ่เป็นที่รู้จักในชื่อ "วิชชาระฆังทอง" ดังปรากฏ และสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน ดังตัวอย่าง Clip นี้

http://www.youtube.com/watch?v=S9i3cj2onWk

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS